รถขาดต่อภาษีเกิน 3ปี มีวิธีการชำระเพื่อต่อทะเบียนอย่างไร

รถขาดต่อภาษีเกิน 3ปี มีวิธีการชำระเพื่อต่อทะเบียนอย่างไรบ้าง 
หลายคนคงเคยลืมต่อภาษีต้องเสียค่าปรับ แต่รถที่ค้างชำระภาษีรถประจำปี ค้างเกิน 3 ปี และเสียภาษีเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือนจนถึงวันชำระ ภาษีรถที่ค้างเกิน 3 ปี กรมการขนส่งทางบกจะระงับทะเบียนรถคันนั้น  การที่เราขาดต่อภาษีทะเบียนรถเกิน 3 ปี จะไม่สามารถทำการซื้อขายรถคันนั้นได้ เพราะรถยนต์คันนั้นได้ถูกระงับทะเบียนไปแล้วไม่สามารถดำเนินการโอนหรือย้ายทะเบียนได้ ดั้งนั้นเราต้องดำเนินการต่อภาษีที่กรมการขนส่งทางบก โดยมีขั้นตอนดังนี้
  1. เจ้าของรถต้องคืนแผ่นป้าย และนำสมุดคู่มือมาให้ทางราชการบันทึกการระงับทะเบียน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่นายทะเบียนระงับการดำเนินการทางทะเบียน หากไม่ไปดำเนินการ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท เราสามารถตรวจสอบอัตราภาษีที่ค้างชำระได้ที่ กรมการขนส่งทางบกโดยใช้เลขที่เล่มทะเบียนรถหรือตรวจสอบได้ที่ หมายเลขสายด่วนกรมการขนส่งทางบก 1584
  2. นำสมุดคู่มือมาให้ทางราชการบันทึกการระงับทะเบียน และชำระภาษีค้างชำระ ณ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ที่รถจดทะเบียน และชำระภาษีที่ค้างตามที่เป็นจริง ตามอัตราภาษีรถประจำปีของรถแต่ละประเภทและเสียภาษีเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือนจนถึงวันชำระ
  3. แจ้งการขอใช้รถอีกครั้งหลังถอนอายัด พร้อมอัตราค่าธรรมเนียมและต้องซื้อ พรบ.ด้วยค่ะในขั้นตอนนี้
เอกสารและหลักฐานแจ้งต่อภาษีขาดต่อ 3 ปี
  1. สมุดคู่มือจดทะเบียน ที่บันทึกการระงับทะเบียนแล้ว (ตัวจริงเท่านั้น พร้อมสำเนา)
  2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของรถ (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
  3. หลักฐานการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
  4. หลักฐานการได้มาของรถ เช่น หนังสือสัญญาซื้อขาย หรือหลักฐานการขายทอดตลาด (กรณีมิได้จดทะเบียนในชื่อเจ้าของเดิม)
  5. หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล อายุการใช้งานไม่เกิน 6 เดือน)
  6. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม กรณีเป็นนิติบุคคล
  7. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่เจ้าของรถไม่สะดวกไปดำเนินการ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ
ค่าธรรมเนียม
  •  ค่าจดทะเบียนรถใหม่ 315 บาท
  • ค่าสมุดคู่มือจดทะเบียนรถ 100 บาท
  •  ค่าแผ่นป้ายทะเบียนรถ ป้ายละ 100 บาท
  • หลักฐานการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
  • อัตราภาษีของรถแต่ละประเภท
  • ค่าธรรมเนียมการตรวจสภาพ
ติดต่อช่องทางนี้ 📥
Tel : 0834152629
tag: ตรวจนอก ต่อพรบ. ต่อภาษีรถบรรทุก ต่อภาษีรถพ่วง ต่อภาษีรถสิบล้อ ต่อภาษีรถทัวร์ ทำพรบ. พรบรถยนต์ ต่อภาษีรถยนต์ ต่อทะเบียนรถยนต์ ชำระภาษีรถยนต์ ต่อทะเบียน ต่อป้ายวงกลม ทำป้ายวงกลม ต่อประกันรถยนต์ ทำประกันรถยนต์ ต่อประกันวิริยะ ทำประกันวิริยะ ผ่อนประกันวิริยะ ภาษีรถยนต์ประจำปี