หากคุณต้องการเปิด ตรอ. ให้สำเร็จ คุณจะต้องรู้จักกับเทคนิคและวิธีการเปิดตรออย่างถูกต้อง บทความนี้จะมาแนะนำให้คุณเรียนรู้เทคนิคและวิธี การเปิด ตรอ. อย่างละเอียด เพื่อให้คุณสามารถเปิดตรอได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย อ่านต่อเพื่อเรียนรู้เทคนิคต่างๆ
การเปิด ตรอ. ต้องทำอย่างไร ก่อนอื่นต้องแนะนำให้รู้จักกับ ตรอ ว่าคืออะไร
ตรอ. ก็คือ สถานตรวจสภาพรถเอกชน ที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก ให้บริการตรวจสภาพรถของท่านก่อนต่อภาษี หรือ ก่อนต่อทะเบียนรถ ความรู้เบื้องต้น พรบ ภาษีรถยนต์
เมื่อรถที่ครบกำหนดการใช้งาน (รถยนต์ 7 ปี, รถจักรยานยนต์ 5 ปี) ต้องตรวจสภาพรถ ก่อนเสียภาษีรถเป็นประจำทุกปี เพื่อเช็คสมรรถภาพ ความพร้อม และความสมบูรณ์ของตัวรถ เพื่อลดการปล่อยมลพิษ ทั้งทางอากาศ และทางเสียง และลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องของรถ เป็นต้น โดยผู้ที่จะเปิดสถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ ต้องมี 2 ส่วนนี้ คือ
-
- สถานตรวจสภาพรถ อุปกรณ์หรือสิ่งอำนายความสะดวกสำหรับใช้ในการตรวจสภาพรถ ที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมขนส่งทางบก
- มีใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถจากขนส่งทางบกกำหนด ผู้ที่จะไปสอบใบอนุญาตผู้ควบคุมการตรวจตรวจสภาพ ตรอ ต้องเรียน จบช่างยนต์ โดยต้องผ่านหลักสูตร 3 วิชา บังคับ คือ
2.1 ระบบเครื่องยนต์
2.2 ระบบส่งกำลังรถยนต์
2.3 ระบบเครื่องล่างรถยนต์
ถ้าเกิดไม่มี 3 วิชานี้ สามารถไปเรียนเพิ่มได้จากโรงเรียนช่างเทคนิคใกล้บ้านที่เปิดหลักสูตรนี้ โดยปกติมีค่าหน่วยกิจละพันกว่าบาท เช่น เทคนิคบางแสนชลบุรีพอเรียนจบหลัสูตร ก็ต้องไปอบรมผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ และสอบเพื่อรับใบอนุญาติผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจากขนส่งค่ะ
วุฒิการศึกษา
1) ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ
– ปริญญาตรี หรือสูงกว่า ด้านวิศวกรรมเครื่องกล ยานยนต์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล งานยานยนต์
– ปวส. ช่างยนต์ เครื่องกล ยานยนต์ – ปวท. สาขาเทคนิคเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องยนต์หรือช่างยนต์
– นอกจากที่ก าหนด ได้รับการศึกษาเพิ่มเติม ด้านระบบเครื่องยนต์ ระบบส่งกำลังรถยนต์ และระบบ เครื่องล่างรถยนต์ (ตามหนังสือที่ คค 0418.5/543 ลงวันที่ 16 มกราคม 2556 เรื่อง ให้การรับรอง หลักสูตรระยะสั้นของวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก มหานคร เทียบเท่า ปวส.ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ ได้รับใบประกาศนียบัตรส าเร็จการศึกษาหลักสูตรระยะสั้น)
2) ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ / เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ
– เหมือนผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถยนต์ – ปวช. ช่างยนต์ เครื่องกล ช่างกลเกษตร
– ม.ปลาย สายอาชีพ ช่างยนต์ ช่างเครื่องยนต์
3) เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์
– เหมือนผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถยนต์
– ม.ต้น หรือเทียบเท่าหรือสูงกว่า และศึกษาเพิ่ม 3 ด้าน
การลงทุนในการเปิด ตรอ. หลัก ๆ มี 2 ส่วน
- สถานที่ โครงสร้าง และอุกรณ์ต่างๆ โดยเฉลี่ยแล้วมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2-5 ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายในการเรียน และขออบรม ออกบัตร ใบอนุญาตผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ ประมาณ 1 หมื่น
ที่มารายได้จาก การเปิด ตรอ.
ค่าบริการตรวจสภาพรถ
• รถจักรยานยนต์ (มอเตอร์ไซค์) ราคา 60 บาท
• รถยนต์ น้ำหนักไม่เกิน 2,000 กก. ราคา 200 บาท
• รถยนต์น้ำหนักเกิน 2,000 กก. ราคา 300 บาท
หลักการตรวจสภาพรถเบื้องต้น การเปิด ตรอ.
- ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถและเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ลอกลายหมายเลขตัวถัง
2. บันทึกข้อมูลและผลการตรวจสภาพรถลงลายมือชื่อและวันที่ - ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถเป็นผู้วินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถลงลายมือชื่อและวันที่
การวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถ มี 2 กรณี
1. ผ่าน ตามเกณฑ์การวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถที่กำหนดไว้
2. ไม่ผ่าน ไม่เป็นไปตามเกณฑ์การวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถที่กำหนด - กรณีหมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถังมีร่องรอยการแก้ไขขูดลบหรือลบเลือนจนไม่ สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ เปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างใน สาระสำคัญ ให้สถานตรวจสภาพรถระงับการตรวจสภาพรถนั้นเสีย
- ให้ผู้ได้รับใบอนุญาต ออกใบรับรองการตรวจสภาพรถโดยเร็ว ใบรับรองการตรวจสภาพรถให้จัดทำเป็นสองฉบับ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถขีดคร่อม พร้อมลงลายมือชื่อกำกับและประทับตรามอบ ต้นฉบับให้เจ้าของรถ สำเนาใบรับรองการตรวจสภาพรถให้จัดเก็บรวมกับบันทึกการตรวจสภาพรถ ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ตรวจสภาพ
- ใบรับรองการตรวจสภาพรถให้มีอายุ ๓ เดือน นับแต่วันที่ออก
- การใช้ใบรับรองการตรวจสภาพรถ ต้องเรียงลำดับตามเล่มที่และเลขที่
- รถคันใดไม่ผ่านการตรวจสภาพ ให้ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถแจ้งผลการตรวจ สภาพรถและข้อบกพร่องของรถคันนั้นให้แก่ผู้ที่นำรถเข้ารับการตรวจสภาพทราบโดยมอบ สำเนาบันทึกผลการตรวจสภาพรถ
เอกสารที่ต้องใช้ในการตรวจสภาพรถ คือ
1. รถที่ต้องการตรวจสภาพ
2. เอกสารยืนยันตัวรถ ก็คือ เล่มทะเบียน (รถยนต์เล่มสีน้ำเงิน, รถจักรยานยนต์เล่มสีเขียว) หรือ ใช้สำเนาหน้าทะเบียนรถแทนก็ได้
- พรบ รถยนต์ 645 กะบะ 975 รถตู้ 1100
- ค่าบริการภาษีรถยนต์
- ประกันภัย ประเภทต่างๆ