ผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีทั้งผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ ซึ่งอาจจะเป็น “ผู้ป่วยใน” หรือ “ผู้ป่วยนอก” ตามเงื่อนไขสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ และแนวทางการรักษามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางปฏิบัติของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้ออกมาตรฐานทางการแพทย์ในการรักษาตามสภาวการณ์ของโรคในแต่ละช่วงเวลา
ซึ่งปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวปฏิบัติการรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่จะเข้าเป็น “ผู้ป่วยใน” ในโรงพยาบาล จะต้องมีความจำเป็นทางการแพทย์และมาตรฐานทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข 1 ใน 5 ข้อ ดังนี้
1. เมื่อมีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ระยะเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง
2. หายใจเร็วกว่า 25 ครั้ง ต่อนาทีในผู้ใหญ่
3. Oxygen Saturation มากกว่า 94%
4. โรคประจำตัวที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือจำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ตามดุลยพินิจของแพทย์
5. สำหรับในเด็ก หากมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนมหรือทานอาหารน้อยลง
ทั้งนี้ภาคธุรกิจประกันชีวิตได้ให้คุ้มครองตามเงื่อนไขของสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ ทั้งในส่วนของประกันชีวิตและประกันวินาศภัย และแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขมาโดยตลอด เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแนวทางการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
ส่วนค่ารักษาพยาบาลโควิดนั้นจะใช้ตามสิทธิ์ที่รักษา เช่น ประกันสังคม สิทธิ์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รวมถึงการเบิกจ่ายตรงของข้าราชการ เป็นต้น ถ้าเรามีประกันสุขภาพและรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโควิดจะต้องนอนรักษาโรงพยาบาล บริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเป็นลำดับแรกตามที่โรงพยาบาลทำการรักษาเรียกเก็บตามผลประโยชน์ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ปล ส่วนการเคลมประกันโควิด เจอ จ่าย จบ ยังเคลมได้ปกติ แต่เพื่อความแน่ใจ แนะนำให้เช็กกับบริษัทประกันภัยอีกครั้ง